10 อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10 อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

อาชีพทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
         บุคลากรสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติ
ดังนี้
        1. คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วสูง
        2. คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างถูกต้องแม่นยำ
        3. คอมพิวเตอร์ช่วยลดต้นทุน
อาีชีพทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
         ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบผังงาน ทั้งทางด้านเครือข่าย และสถาปัตยกรรมภายในของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการผลิต อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือชิ้นส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
         ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการทำงานของคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ การซ่อมบำรุง คอมพิวเตอร์ ผู้สนใจศึกษาสาขาวิชานี้ ควรเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ผลิตอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในวงการ วิทยาศาสตร์ โดยนำมาปรับเข้ากับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างกลมกลืน
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)
         เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาทางคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเปลี่ยนทัศนคติด้านอาชีพ จะเน้นความรู้ด้าน โปรแกรมประยุกต์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมให้เหมาะสมในการใช้เฉพาะหน่วยงานนั้น ๆ
         โดยทั่วไป ภายในหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์ จะแบ่งบุคลากรเป็น 3 ฝ่าย คือ
          1. ฝ่ายวิเคระห์และออกแบบระบบ
          2. ฝ่ายโปรแกรม
          3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
1. นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)
      ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าโปรแกรม ที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System analyst) ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงาน และ ออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้งาน  ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย

3. ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (Database administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล(Database) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้ การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้

4. ผู้ดูแลและบริหารระบบ (System administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย

5. ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (Network administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย

6. ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (Webmaster)  ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ ให้มีความทันสมัย โดยเฉพะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

7. เจ้าหน้าที่เทคนิค (Technician)  ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร

8. นักเขียนเกม (Game maker)  ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกม คอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย


&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น