6การพัฒนาโครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

โครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)

 ระบบสาระสนเทศด้านการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ 3ประการ ดังต่อไปนี้
1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2. การจัดการด้านการเงินภายในองค์กร (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น
3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมี ประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น ประเภทดังต่อไปนี้
              · การควบคุมภายใน (internal control)
              · การควบคุมภายนอก (external control)
        ระบบสารสนเทศ ด้านการเงิน (financial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินของ องค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operations data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน
3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและ ส่งเสริมความสำเร็จของกลยุทธ์
4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับ สถานการณ์
        ระบบสารสนเทศ ด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทาง การเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลขทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน

ระบบคืออะไร
               ระบบ หมายถึงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
              ภายในระบบแต่ละระบบสามารถมองเป็น ระบบย่อย (Subsystem) ได้ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้ถือว่าเป็นระบบด้วยเช่นกัน เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อระบบย่อยหลาย ๆ ระบบรวมกันจะทำให้เกิดระบบใหญ่ขึ้น
               ถ้าพิจารณาองค์กร ในรูปแบบของระบบการเรียนของโรงเรียน ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยระบบย่อยคือ ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายวิชาการ ฝ่าย ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในแต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบย่อยได้อีก

ถ้า จะกล่าวถึงประเภทของระบบเราสามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภทขึ้นกับว่า เราสนใจคุณลักษณะอะไรของระบบนั้น ๆ ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะบางประเภทของระบบที่มีคุณลักษณะที่น่าสนใจดังนี้
ระบบเปิด
              ระบบเปิด (open system) คือระบบที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งพยายามปรับตัวเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในให้อยู่รอดได้ โดยทั่วไปแล้วองค์กรต่าง ๆ ถือว่าเป็นระบบย่อยของระบบธุรกิจทั้งหมด การทำงานขององค์กรต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกตาม เช่นระบบ การลงทะเบียน มีความสัมพันธ์ระบบอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกของระบบ ตั้งแต่การรับใบลงทะเบียนจากนักศึกษา ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน การชำระเงินค่าลงทะเบียน การทำตารางเรียนตารางสอน
ระบบปิด
              ระบบปิด (close system) คือระบบที่ไม่ต้องสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือระบบที่ทีการควบคุมการปฏิบัติต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์
              องค์ประกอบที่สำคัญของระบบมี 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำเข้า (input) ส่วนกระบวนการหรือ โพรเซส (processing) ส่วนผลลัพธ์ (output) และส่วนป้อนกลับ (feed-back)
ส่วนนำเข้า             คือ    ทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบแล้วก่อให้เกิดกระบวนการขึ้น
ส่วนกระบวนการ   คือ   ส่วนที่ทำหน้าที่แปรสภาพ หรือประมวลผล โดยอาศัยส่วนนำเข้าของระบบไป
                                        แปรสภาพเป็นผลลัพธ์ที่ต้อง
ส่วนผลลัพธ์            คือ    ส่วนที่ต้องการจากระบบ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบ
ส่วนป้อนกลับ         คือ    ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบบรรลุ
                                        เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนำเอาส่วนผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จากนั้น
                                        นำผลที่ได้จากการเปรียบเทียบไปปรับปรุงส่วนนำเข้าหรือกระบวนการ


การจัดการการเงินคืออะไร
การจัดการการเงิน คือ การทำให้มูลค่าของกิจการสูงสุด การทำให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยแสดงออกมาในรูปของราตลาดหุ้นสามัญสูงสุด

หน้าที่การจัดการการเงิน
          1. การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
               1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง : ต้องตัดสินใจในสินทรพัย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด โดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม
               1.2 การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : มักจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งบลงทุน จะต้องพิจารณา
                       - ต้นทุนเงินทุน
                       - ความเสี่ยงในการลงทุน
                       - องค์ประกอบและคุณภาพของสินทรัพย์
          2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน : แบ่งแหล่งเงินทุนเป็น
               2.1 แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
                       - หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน : ตั๋วเงินจ่าย เจ้าหนี้การค้า
                       - หนี้สินระยะยาว : การกู้เงินระยะยาว หุ้นกู้
               2.2 แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ

ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน คือ
                       - ต้นทุนเงินทุน
                       - ความเสี่ยงทางการเงิน
                       - ระยะเวลาครบกำหนด
                       - ภาวะผูกพัน
          หลักการ ควรหาเงินทุนจากแหล่งใด ระหว่างเจ้าหนี้และส่วนของเจ้าของ ควรจัดหาเป็นเงินระยะสั้นหรือระยะยาว และเป็นสัดส่วนเท่าใด จึงทำให้ต้นทุนของเงินทุนต่ำสุด โดยไม่เกิดความเสี่ยงทางการเงินมากเกินไป

การตัดสินใจลงทุน
          1. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง แนวคิด
                       - แนวคิดขาดดุล
                       - แนวคิดเกินดุล
                       - แนวคิดสมดุล
         2.  การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด  EOQ
                       - การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทำให้เกิดประหยัด
                       - การกำหนดจุดสั่งซื้อ
                       - การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเผื่อขาด
          3.  ความเสี่ยงและผลตอบแทน :
                       - ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม
                       - ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และความเสี่ยงจากภาวะตลาด
                       - ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทำให้ลดลงได้โดยการลงทุนใน หลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ portfolio
                       - ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบเช่น เกิดสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน
          4. การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (สินทรัพย์ถาวร)
                       - การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ หลังจากได้ประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องแล้ว
                       - วิธี NPV : มูลค่าปัจจุบันสุทธิ วิธี IRR : อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
                       - ความเสี่ยงของโครงการ
                         1. ความเสี่ยงเอกเทศ : คำนึงเฉพาะตัวโครงการ
                         2. ความเสี่ยงของกิจการ : พิจารณาผลที่จะส่งถึงบริษัท แต่ถูกขจัดได้
                    3. ความเสี่ยงตลาด
IT ที่ใช้ในการจัดการการเงิน
สำหรับ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน ได้นั้น อาจพัฒนาขึ้นโดยการเขียนโปรแกรมไว้ใช้งานด้วยตนเอง หรืออาจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันทีก็เป็นได้ ซึ่งหนึ่งในโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้กับการบริหารการเงินอย่างแพร่หลาย ก็คือ โปรแกรม Microsoft Excel นั่นเอง
            โปรแกรม Microsoft Excel นั้นถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน ทั้งในด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การหามูลค่าของเงินตามเวลา การพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ทั้งนี้ก็เพราะ Microsoft Excel เป็นโปรแกรมประเภทกระดาษคำนวณ (Spread Sheet)ซึ่งช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประเภทตัวเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นพิเศษทางการเงินซึ่งเรียกว่า "Financial Function" ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จรูปสำหรับการคำนวณหาข้อมูลทางการเงินประเภทต่างๆ อีกด้วย


=============================================================================

======================================================================

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น